ดวงเดือน
เทศวานิช (2529 : 120)
ได้กล่าวไว้ว่า การสอนแบบหน่วย หมายถึงการสอนที่นำเอาเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์เป็นเรื่องเดียวกัน
โดยมีวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกนหลัก เรียกว่าหน่วย
ชนิดของหน่วย
หน่วยแบ่งออกเป็น 4 ชนิดดังนี้
1.หน่วยเนื้อหา
คือหน่วยที่มุ่งเอาเนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลางของหน่วยถือหนังสือเรียนหรือตำราเป็นแหล่งวิชาที่สำคัญที่สุดในการให้ความรู้แก่ผู้เรียน
ผู้เรียนได้รับความรู้ในการค้นคว้าจากหนังสือ ใช้เวลาในการสอนหน่วยหนึ่งไม่มากนัก
เพราะผู้สอนเป็นผู้นำในการเลือกหน่วย วางโครงการ วางแผนงานและทำงาน เช่น “หน่วยเรื่องความสะอาด” เป็นต้น
2.หน่วยประสบการณ์
คือหน่วยที่มุ่งเอาประสบการณ์ในชีวิตของผู้เรียนเป็นหลัก
เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจที่เรียนรู้
ผู้สอนและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกหน่วยงานและวางแผนงาน การวางแผนงานควรให้ยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้
ทั้งนี้ผู้สอนควรคำนึงถึงระดับชั้น ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
เช่นหน่วยเรื่อง “อาชีพของคนไทย”
เป็นต้น
เป็นต้น
3.หน่วยกิจกรรม
คือหน่วยงานที่มุ่งเอากิจกรรมเป็นหลัก ผู้สอนจะต้องพิจารณาถึงความสนใจ ความต้องการ
ความสามารถ และวุฒิภาวะของผู้เรียนแต่ละคน แต่ละวัย เพื่อเลือกกิจกรรมที่สนองความต้องการของผู้เรียนในระดับนั้น
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมและวางแผนที่จะแก้ปัญหา เช่นหน่วยเรื่อง “การรักษาความสะอาดภายในบ้านและโรงเรียน” “การปรับปรุงโรงเรียนของเรา”
เป็นต้น
4.หน่วยวิทยาการ
คือหน่วยงานที่รวบรวมปัญหาตลอดจนกิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆสำหรับผู้เรียนไว้โดยมูลแล้ว
เพื่อให้นำไปใช้สอนได้ เช่นหน่วยเรื่อง “ประเทศเพื่อนบ้านของไทย” เป็นต้น
ขั้นตอนของการสอนแบบหน่วย
การสอนแบบหน่วย แบ่งออกเป็น 5 ขั้นดังนี้
1.ขั้นนำเข้าสู่หน่วย (Introduction
or approach period) เป็นการสำรวจความต้องการ ความสนใจ
ให้ผู้เรียนเข้าใจจุดมุ่งหมายของหน่วย โดยเร้าให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนด้วยวิธีต่างๆ
เช่นการสนทนาหรืออภิปรายปัญหา การแนะนำหนังสือให้อ่าน การไปศึกษานอกสถานที่
การไปชมนิทรรศการ การฉายภาพยนตร์ ให้ผู้เรียนเล่าประสบการณ์ของตนเอง ให้อ่านหนังสือพิมพ์หรือวารสาร
ฯลฯ เพื่อนำเข้าสู่ปัญหาที่จะเรียน ผู้สอนมีหน้าที่ชี้ทางให้ผู้เรียนเห็นปัญหา
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและตั้งความมุ่งหมายในการแก้ปัญหา ขั้นนี้จบลงด้วยการช่วยกันตั้งชื่อหน่วย พร้อมกับรวบรวมปัญหาย่อยๆทั้งหมด
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและตั้งความมุ่งหมายในการแก้ปัญหา ขั้นนี้จบลงด้วยการช่วยกันตั้งชื่อหน่วย พร้อมกับรวบรวมปัญหาย่อยๆทั้งหมด
2.ขั้นผู้สอนและผู้เรียนวางโครงการร่วมกัน
(Pupil-teacher planning period)
เมื่อได้ชื่อหน่วยและปัญหาย่อยๆแล้ว ผู้สอนและผู้เรียนวางแผนร่วมกันเพื่อที่จะแก้ปัญหา
โดยช่วยกันตั้งความมุ่งหมายทั่วไป และความมุ่งหมายเฉพาะตั้งปัญหา
แบ่งปัญหาออกเป็นหัวข้อย่อยๆประมาณ 4-6ข้อ ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มและเลือกหัวข้อที่จะทำ
ต่อไปก็มีการประชุมกลุ่มย่อย และรายงานผลการประชุม
ผู้สอนมีหน้าที่ช่วยผู้เรียนวางแผนแก้ปัญหา
มอบหมายงานให้ผู้เรียนแต่ละหมู่รับผิดชอบ ทำงานตามความสามารถและความสนใจ
แนะนำให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งวิชาที่จะเป็นประโยชน์แก่การแก้ปัญหา
3.ขั้นดำเนินงาน (Working
period) ผู้เรียนจะค้นคว้าหาความรู้ ทำงานและทดลอง
เป็นขั้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่
ผู้สอนมีหน้าที่ช่วยเหลือให้คำแนะนำเมือมีปัญหา ให้เข้าใจปัญหา
รู้จักแหล่งวิชาที่ใช้แก้ปัญหาให้รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายและทำงานอย่างมีหลักเกณฑ์
ช่วยให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้โดยการไปสัมภาษณ์ ศึกษานอกสถานที่
เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ค้นคว้าจากห้องสมุด ประดิษฐ์สิ่งต่างๆเช่นปั้น วาด
เป็นต้น ขั้นนี้แบ่งเป็น 2 ประการดังนี้
(1)
การสำรวจและรวบรวมความรู้ต่างๆจากห้องสมุด หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เอกสารต่างๆ
ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง วิทยากร สังคม และธรรมชาติ
(2)
ความสัมพันธ์กับวิชาต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์ ศิลปะ
4. ขั้นเสนอกิจกรรม (Culmination
activity)
เป็นการสรุปรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและเสนอผลงานซึ้งเป็นกิจกรรมที่แสดงออกในทางสร้างสรรค์
เช่น รายงานปากเปล่า อ่านรายงาน อภิปราย ทำสมุดภาพ แสดงละคร จัดนิทรรศการ ฯลฯ
5.ขั้นประเมิลผล (Evaluation) เมื่อผู้เรียนแสดงผลงานเสร็จแล้ว ผู้สอนควรประมวลความรู้ที่ได้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน
นำมาจัดลำดับแสดงความสัมพันธ์ของความรู้และอาจเพิ่มเติมความรู้ที่ยังขาดให้ด้วย
แล้วทำการประเมินผลจากการวัดด้านต่างๆดังนี้
(1) วัดความรู้ทางวิชาการ ได้แก่
ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทักษะต่างๆและความสามารถในการค้นคว้า เป็นต้น
โดยทำการสัมภาษณ์หรือให้ทำข้อทดสอบ
(2) วัดความสามารถต่างๆ เช่น ความสามารถในการทดลอง
การทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการสังเกตพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกมาขณะกำลังทำงาน
(3) วัดเจตคติ เป็นการวัดทางด้านความรู้สึกนึกคิด
เช่นมีความรู้สึกที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานหรือไม่
มีความสนใจทำการค้นคว้าทดลองเพิ่มขึ้นหรือไม่ ฯลฯ โดยการสังเกตหรือสัมภาษณ์
(4) วัดคุณลักษณะส่วนตัว เช่นการทำงานร่วมกับผู้อื่น
การเป็นผู้นำความคิดริเริ่มความรับผิดชอบ ใจกว้างพอที่จะยอมรับคำวิจารณ์ ฯลฯ
โดยการสังเกต สัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม
สุชา จันทน์เอม (2521 : 170) ได้กล่าวไว้ว่า ในการสอนแบบหน่วย
หมายถึงการสอนการเรียนเป็นส่วนรวม โดยนำความรู้ต่างๆมาสัมพันธ์กัน
เพื่อช่วยในการแก้ปัญหา ขอบเขตของกิจกรรมและประสบการณ์อาจจะมากน้อย
ขึ้นอยู่กับอายุและชั้นเรียนของเด็ก
ชนิดของหน่วย
1.หน่วยเนื้อหาวิชา
เป็นหน่วยที่มุ่งเอาเนื้อหาวิชาเป็นหลัก ครูเป็นผู้นำในการเลือกหน่วยวางแผน
และการทำงาน
2. หน่วยประสบการณ์ มุ่งเอาประสบการณ์ของเด็กเป็นหลัก ยึดความสนใจของเด็กเป็นสำคัญ เด็กและครูร่วมมือกันเลือกหน่วยและวางแผนงาน
2. หน่วยประสบการณ์ มุ่งเอาประสบการณ์ของเด็กเป็นหลัก ยึดความสนใจของเด็กเป็นสำคัญ เด็กและครูร่วมมือกันเลือกหน่วยและวางแผนงาน
3.หน่วยกิจกรรม
มุ่งกิจกรรมเป็นหลัก กิจกรรมนั้นต้องสนองความสนใจ ความต้องการและความสามารถของเด็ก
เด็กมีส่วนร่วมในการเลือกหน่วยด้วย
4.หน่วยวิทยากร คือ
หน่วยรวบรวมปัญหา ตลอดจนกิจกรรมและประสบการณ์
ขั้นการสอน
ขั้นที่ 1 การสอนเพื่อเร้าความสนใจ และมองเห็นปัญหา
ครูเร้าความสนใจเด็ก โดยการสนทนา การอภิปราย หรือจัดกิจกรรมอื่นๆ
ขั้นที่ 2 นักเรียนและครูร่วมกันวางแผนงาน
ก.
การวางแผนงานส่วนใหญ่
คือการแบ่งแยกปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย
ข.
การวางแผนงานโดยละเอียด
ปัญหาย่อยทุกๆปัญหาจัดให้มีกิจกรรมให้เหมาะกับเนื้อหาวิชา
ค.
การจัดแบ่งนักเรียนออกเป็นหมู่
และรับเอาปัญหาย่อยไปช่วยกันแก้
ขั้นที่ 3 นักเรียนลงมือทำงานตามแผนงานในขั้นที่ 2 เช่น ค้นคว้า สำรวจ ศึกษานอกสถานที่ สัมภาษณ์ ฯลฯ
ขั้นที่ 4 การรายงานผลงานต่อชั้น
แต่ละหมู่รายงานผลที่ได้ปฏิบัติต่อชั้นครูต้องคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา
นักเรียนอาจจะมีการซักถาม โต้ตอบกันเอง
ขั้นที่ 5 การวัดผลเป็นการตรวจสอบดูว่า
การเรียนของนักเรียนได้ผลเพียงใด การวัดผลหลายๆด้าน เช่น ความรู้ความเข้าใจ
ทักษะในการแก้ปัญหา ทัศนคติ ความคิดริเริ่ม การฝึกประชาธิปไตย ฯลฯ
http://www.neric-club.com/data.php?page=4&menu_id=76 ได้รวบรวมวิธีการสอนแบบหน่วยไว้ว่า วิธีสอนแบบหน่วย
(Unit Teaching Method) เป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน
โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า “หน่วย”
นักเรียนอาจเรียนหลายๆวิชาพร้อมๆกันไปตามความต้องการและความสามารถของนักเรียน
ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบหน่วย
1.
เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเอง
2. เพื่อส่งเสริมการทำงานที่เป็นประชาธิปไตย ได้แก่ นักเรียนร่วมกันปรึกษาหารือ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาร่วมกัน
ขั้นตอนของวิธีการสอนแบบหน่วย
1.ขั้นนำเข้าสู่หน่วย
ขั้นตอนนี้ครูเป็นผู้เร้าความสนใจของนักเรียนด้วยการนำหนังสือที่น่าสนใจหรือสนทนาพูดคุยหรือเล่าเรื่องหรืออภิปรายหรือพาไปทัศนศึกษา
หรือชมนิทรรศการ หรือชมภาพยนตร์ หรือชมวีดีทัศน์ ฯลฯ
2.ขั้นนักเรียนและครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม เริ่มด้วยการกำหนดความมุ่งหมายทั่วไป ความมุ่งหมายเฉพาะ ช่วยกันตั้งปัญหาและแบ่งหัวข้อปัญหา กำหนดกิจกรรมของแต่ละปัญหากำหนดสื่อการสอนที่จะนำไปใช้แก้ปัญหา แล้วจัดแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเพื่อทำกิจกรรม และรายงานผลการปฏิบัติงาน
2.ขั้นนักเรียนและครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม เริ่มด้วยการกำหนดความมุ่งหมายทั่วไป ความมุ่งหมายเฉพาะ ช่วยกันตั้งปัญหาและแบ่งหัวข้อปัญหา กำหนดกิจกรรมของแต่ละปัญหากำหนดสื่อการสอนที่จะนำไปใช้แก้ปัญหา แล้วจัดแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเพื่อทำกิจกรรม และรายงานผลการปฏิบัติงาน
3.ขั้นลงมือทำงาน
เริ่มต้นด้วยการสำรวจและรวบรวมความรู้ต่างๆจากห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ได้แก่
หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร เอกสาร แบบเรียน ตำรา ร้านค้า ภาพยนตร์
ความสัมพันธ์กับวิชาต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลป์ ฯลฯ
4.ขั้นเสนอกิจกรรม
ได้แก่ การเสนอกิจกรรมด้วยการรายงานผลการปฏิบัติงานโดยวาจาหรือรายงานผลเป็นข้อเขียน
การอภิปราย การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
และการเสนอกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์แบบอื่นๆ
5.ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอน
และจุดประสงค์ของหน่วยโดยพิจารณาความรู้เชิงวิชาการ เจตคติ และความสนใจต่างๆ
รวมทั้งคุณสมบัติส่วนตัว เช่น คุณสมบัติด้านการเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ
ความมีระเบียบวินัย การแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม และยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม
ข้อดีของวิธีสอนแบบหน่วย
1. เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมความถนัดตามธรรมชาติของนักเรียน
เพราะการสอนแบบนี้มีกิจกรรมหลายประเภทให้นักเรียนได้เลือกปฏิบัติทำตามที่ถนัดและสนใจ
2. นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนร่วมกับครู
3. นักเรียนได้รับการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
และได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
4. เป็นการสอนที่สร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างวิชาต่างๆในหลักสูตร
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบหน่วย
1. วิธีสอนแบบนี้ต้องใช้เวลามาก
2. ครูผู้สอน
ต้องมีแหล่งความรู้ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ และหลากหลาย
สรุป
วิธีการสอนแบบหน่วย
เป็นการสอนที่นำเนื้อหาหลายๆวิชามาสัมพันธ์กันเป็นเรื่องเดียวกัน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า แก้ปัญหาด้วยตนเอง และส่งเสริมการทำงานที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งวิธีการสอนแบบหน่วยจะมี 4 ชนิดคือ หน่วยเนื้อหาวิชา หน่วยประสบการณ์ หน่วยกิจกรรม และหน่วยวิทยากร มีขั้นตอนในการสอนดังนี้ ขั้นนำเข้าสู่หน่วย ขั้นนักเรียน ครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม ขั้นลงมือทำงาน ขั้นเสนอกิจกรรม และขั้นประเมินผล
ที่มา
ดวงเดือน เทศวานิช.(2529).หลักการสอนและการเตรียมประสบการณ์วิชาชีพภาคปฏิบัติ.
กรุงเทพฯ:คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูพระนคร.
สุชา จันทน์เอม.(2521).จิตวิทยาในห้องเรียน.กรุงเทพฯ:พีระพัธนา.
กรุงเทพฯ:คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูพระนคร.
สุชา จันทน์เอม.(2521).จิตวิทยาในห้องเรียน.กรุงเทพฯ:พีระพัธนา.
http://www.neric-club.com/data.php?page=4&menu_id=76.
วิธีการสอนแบบหน่วย.เข้าถึงเมื่อ
12 กรกฎาคม 2558.
12 กรกฎาคม 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น